วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว

1.แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ
1.1ทฤษฎีเกี่ยวกับแผ่นดินไหว    
มีอยู่ 2 ทฤษฎีหลักๆที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันทฤษฎีแรกคือ ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเคลื่อนที่แผ่นเปลือกโลก(Plate Tectonics Theory) ในอดีต และในการเกิดการเคลื่อนตัวจนถึงจุดหนึ่ง วัตถุจะขาดออกจากกันและเสียรูปอย่างมาก จึงปล่อยพลังงานออกมาและหลังจากนั้นวัตถุก็จะคืนตัวกลับสู่รูปเดิม และทฤษฎีที่สอง ที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก ซึ่งเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างกะทันหัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปล่อยพลังงานออกมาในรูปของ คลื่นแผ่นดินไหว 
1.2คลื่นแผ่นดินไหว
 เมื่อเปลือกโลกสะสมแรงแค้นจนถึงจุดแตกหัก เปลือกโลกจะเคลื่อนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และเกิดการสั่นสะเทือนเป็นคลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งจะรับรู้ได้หรือไม่ได้นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นดินไหว คลื่นแผ่นดินไหวมีอยู่ 2 ประเภทคือ 1).คลื่นในตัวกลาง เป็นคลื่นที่มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงรอบๆจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว สามารถแยกได้เป็น คลื่นปฐมภูมิ(คลื่น P) หรือที่เรียกกันว่า คลื่นอัดตัว (Compressional Wave) ซึ่งเป็นคลื่นตามยาว และคลื่นทุติยภูมิ (คลื่นS) หรือ คลื่นเฉือน (Shear Wave) เป็นคลื่นตามขวาง 2).คลื่นพื้นผิว เป็นคลื่นที่แผ่จากเหนือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว จะแยกได้เป็น คลื่น L ที่สั่นในแนวราบ มีทิศตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น และคลื่น R จะสั่นเป็นรูปรี เป็นเหตุให้พื้นโลกสั่นขึ้น-ลง โดยธรรมชาติคลื่นอัดตัว จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนในทิศทางเดียวกันกับที่คลื่นเคลื่อนที่ไป ส่วนคลื่นเฉือนจะทำให้พื้นดินสั่นสะเทือนในทิศทางตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น ถึงแม้ว่าความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวจะต่างกันมากถึง 10 เท่า แต่อัตราส่วนระหว่างความเร็วของคลื่นอัดตัว กับความเร็วของคลื่นเฉือนค่อนข้างคงที่ ฉะนั้น นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวจึงสามารถคำนวณหาระยะทางถึงจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวได้ โดยเอาเวลาที่คลื่นเฉือนมาถึง ลบด้วยเวลาที่คลื่นอัดตัวมาถึง (เวลาเป็นวินาที) คูณด้วยแฟกเตอร์ 8 จะได้ระยะทางโดยประมาณเป็นกิโลเมตร
(S - P) x 8
S คือ เวลาที่คลื่นเฉือนเคลื่อนที่มาถึง
P คือ เวลาที่คลื่นอัดตัวเคลื่อนที่มาถึง
คลื่นแผ่นดินไหวจะเคลื่อนที่ไปรอบโลก ฉะนั้น หากเรามีเครื่องมือที่ละเอียดเพียงพอ ก็สามารถวัดการเกิดแผ่นดินไหว จากที่ไหนก็ได้บนโลก หลักการนี้ได้นำมาใช้ในการตรวจจับเรื่องการทดลองอาวุธปรมาณู เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถตรวจจับการระเบิดของอาวุธปรมาณู ที่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนเทียบเท่ากับแผ่นดินไหวขนาด 3.5 ตามมาตราริกเตอร์
 2.แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์
เป็นสาเหตุเนื่องจากความต้องของมนุษย์ ทั้งการทดลองระเบิดปรมาณูหรือการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ที่ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือน ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่เปลือกโลก การกักเก็บน้ำในเขื่อนที่ต้องสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนจะกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานรวมทั้งทำให้แรงดันน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหินและจะเกิดแผ่นดินไหวท้องถิ่น การสูบน้ำใต้ดิน รวมถึงแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่ ซึ่งสาเหตุหลักๆเหล่านี้ จะส่งผลร้ายกับธรรมชาติและธรรมชาติก็ได้สะท้อนผลกระทบร้ายแรงนั้นกลับคืนมาสู่มนุษย์ด้วยการเกิดแผ่นดินไหวที่มีพลังทำลายล้างมหาศาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น