วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บรรณานุกรม


กมล วัชรเสถียร. “ การป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว,[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :
          http://guru.sanook.com/encyclopedia.(วันที่สืบค้นข้อมูล : 3 กันยายาน 2555)
กมล วัชรเสถียร. “แผ่นดินไหว,”ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, เล่มที่28,หน้า265-292.กรุงเทพฯ.
          โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน,2547.
กรมทรัพยากรธรณี. “การเกิดแผ่นดินไหว,[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dmr.go.th/main.php?
           filename=case_eq. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 สิงหาคม 2555)  
 ดุษฎี ศุขวัฒน์. “การพยากรณ์แผ่นดินไหว,[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.tmd.go.th/info/info.php.
           (วันที่สืบค้นข้อมูล : 3 กันยายาน 2555)
 ฟิสิกส์ราชมงคล. “สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว,[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
           www.rmutphysics.com/charud/specialnews/4/earthquake/index4.htm. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 28 สิงหาคม 2555) 
 ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย. “ขนาดการเกิดของแผ่นดินไหว,[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
           http://www.nirapai.com/1784thai/index.php?option=com_content&task=view&id=297&Ite    mid=63. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 สิงหาคม 2555)
อุดม เอกตาแสง. “การปฎิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว,[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
          http://61.19.54.141/dpmrc14/center14%20k.snong%2002.htm) . (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 สิงหาคม         2555)
 โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. “แผ่นดินไหว, [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
          www.kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=28&chap=9&page=chap9.ht     m.           (วันที่สืบค้นข้อมูล : 28 สิงหาคม 2555)

รายชื่อผู้จัดทำ


                            1.นางสาวฌิชชาดา  ธุรานุช                 เลขที่ 4
                             2.นายนำชัย  จินันทุยา                         เลขที่ 10
                             3.นางสาวจตุพร  พรพิพัฒน์                เลขที่ 16
                             4.นายจิรายุทธ  ยิ่งยง                          เลขที่ 17
                             5.นายไตรภูมิ  เคอนิกส์มาร์ค              เลขที่ 19
                             6.นายประกายสันต์  ศิระธนิตโรจน์    เลขที่ 24
                             7.นายพชร  พวงศิริ                             เลขที่ 26
                             8.นายวัชระ  มันธุภา                           เลขที่ 41
                             9.นางสาวพิมลมาศ  ศาลางาม              เลขที่ 46
                             10.นางสาวกุลวรางค์  ขิมทอง             เลขที่50
                             11.นายไชยาวัฒน์  สังข์โสม               เลขที่ 51
                                               
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6

โรงเรียนสุรวิทยาคาร

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ข้อควรระวังเมื่อแผ่นดินไหว

1.ภัยพิบัติซ้ำซ้อนหลังจากเกิดแผ่นดินไหว
1.1อาจจะมีอาคารถล่มอีกเนื่องจากเกิดความสั่นสะเทือนซ้ำๆจำนวนหลายครั้งแต่เบากว่าครั้งแรก
1.2 แก๊สรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร อาจเกิดอัคคีภัยขึ้นได้
1.3อุทกภัยจากเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำพัง
1.4 ท่อน้ำประปาแตก น้ำดื่มสกปรก โรคระบาด เช่น โรคทางเดินอาหาร ฯลฯ
1.5 เกิดคลื่นขนาดใหญ่ (Tsunami) พัดเข้าสู่ฝั่งหรือที่เรียกกันว่า “สึนามิ”

ข้อควรปฏิบัติเมื่อแผ่นดินไหว

การรับทราบข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะเอาชีวิตรอดได้เมื่อมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวและการเอาตัวรอดอย่างถูกวิธีก็จะทำให้เกิดความเสียหายกับตัวเราเอง
และกับผู้อื่นได้น้อยที่สุด ซึ่งข้อปฏิบัติดังกล่าวคือ
1.ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
1.1ควรมีไฟฉายถ่านไฟฉายและกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้านและแจ้งให้ทุกคนทราบว่าเก็บไว้ที่ไหน
1.2ควรศึกษาการปฐมพยาบาลขั้นต้นเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน
1.3 ควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดถังแก๊ส ปิดน้ำ และตำแหน่งสะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า และทุกคนในบ้านควรจะทราบวิธีการปิดวาล์วถังแก๊สและยกสะพานไฟฟ้า
1.4อย่าวางของหนักไว้บนชั้นหรือหิ้งสูงๆเพราะเมื่อมีการสั่นไหวสิ่งของอาจตกลงมาเป็นอันตราย
1.5ผูกเครื่องใช้ให้แน่นกับพื้นและยึดเครื่องประดับบ้านหนักๆเช่นตู้ถ้วยชามไว้กับผนัง
1.6 ควรวางแผนการในกรณีที่ทุกคนอาจต้องพลัดพรากจากกันว่า จะกลับมารวมกันที่ไหน อย่างไร
1.7เสริมความแข็งแรงให้แก่อาคารบ้านเรือน
1.8 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
1.9คอยฟังประกาศเตือนภัยแผ่นดินไหว
2. ขณะเกิดแผ่นดินไหว
2.1คุมสติตนเอง และเตือนสติผู้ใกล้ชิด อย่าตื่นเต้น ตกใจ เพราะจะทำให้เกิดความสูญเสียมากยิ่งขึ้น
ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน ส่วนใหญ่คนที่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า-ออกจากบ้าน
2.2ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้ยืนอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และควรอยู่ห่างจากหน้าต่าง และประตู ที่จะออกข้างนอก ถ้าอยู่ภายในอาคารควรระมัดระวังสิ่งของตกทับ ควรหลบใต้โต๊ะ ใต้เตียง มุมห้อง หรือใต้วงกบประตูที่แข็งแรงห่างจากหน้าต่างหรือประตูกระจก
2.3ถ้าอยู่ในที่โล่งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆที่อาจตกลงมา
2.4อย่าใช้เทียนไขไม้ขีดไฟหรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟเพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่ในบริเวณนั้น
2.5ถ้ากำลังอยู่ในรถยนต์ให้หยุดรถและอยู่ในรถต่อไปจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง
2.6ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหวเพราะเมื่อสายไฟฟ้าขาดลิฟต์จะติดและควันไฟจะเข้ามาในลิฟต์
2.7 หากอยู่ใกล้ชายทะเล ให้อยู่ห่างจากฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
3.หลังเกิดแผ่นดินไหว
3.1ควรตรวจดูตัวเองและคนใกล้เคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ถ้ามีการบาดเจ็บให้ทำการปฐมพยาบาลก่อนหากว่าบาดเจ็บมากให้นำส่งสถานพยาบาลต่อไป
3.2ควรรีบออกจากตึกที่เสียหายเพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับ
3.3ควรตรวจท่อน้ำแก๊สและสายไฟฟ้าหากพบส่วนที่เสียหายปิดวาล์วน้ำหรือถังแก๊สและยกสะพานไฟฟ้า
3.4ตรวจแก๊สรั่วโดยการดมกลิ่นถ้าได้กลิ่นแก๊สให้เปิดหน้าต่างและประตูทุกบานรีบออกจากบ้านและแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
3.5เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉินอย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็นเพราะอาจจะใช้ส่งข่าว
3.6อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจสอบว่ามีสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบายหรือไม่
3.7สวมรองเท้าหุ้มส้นเพื่อป้องกันเศษแก้วและสิ่งหักพังทิ่มแทง

ผลกระทบจากแผ่นดินไหว

            แผ่นดินไหวสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างมากถ้าเกิดขึ้นบริเวณที่มีชุมชนมีประชาชนอยู่อาศัยหนาแน่นจะทำให้เกิดความสูญเสียมากมาย ความสั่นสะเทือนทำให้อาคารถล่มลงมาทับผู้คนที่อยู่อาศัยทำให้เส้นทางคมนาคมเสียหายระบบสาธารณูปโภคเสียหาย อาจทำให้เขื่อนพังทำให้เกิดอุทกภัยอย่างฉับพลันไว้
 แผ่นดินไหวที่มีขนาดตั้งแต่ 5.0 ริกเตอร์ขึ้นไป สามารถทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารและสิ่งก่อสร้างได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากจุดกำเนิดแผ่นดินไหวและสภาพทางธรณีวิทยาของที่ตั่งอาคารหรือสิ่งก่อสร้างผลกระทบของแผ่นดินไหวจะก่อให้เกิดความเสียหายในลักษณะต่าง ๆ กัน ดังต่อไปนี้
1.ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
1.1ประชาชนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเศษสิ่งปรักหักพังและการล้มทับของสิ่งก่อสร้างต่าง
1.2ที่อยู่อาศัยพังเสียหายไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้ ทำให้ไร้ที่อยู่อาศัย
1.3ระบบสาธารณูปโภคได้รับความเสียหาย อาจเกิดการระบาดของโรคต่าง ๆ
1.4เกิดเหตุอัคคีภัยหรือไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ประชาชนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
1.5สุขภาพจิตของผู้ประสบภัยเสื่อมลง

2.ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
2.1ระบบธุรกิจหยุดชะงักเนื่องจากระบบการคมนาคมสื่อสารถูกทำลายไม่มีการประกอบหรือดำเนินธุรกรรม หรือการผลิตใด ๆ
2.2รัฐต้องใช้งบประมาณในการดูแลสุขภาพการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยการฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะต่างๆตลอดจนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของประชาชน
และหน่วยงานราชการต่างๆส่งผลถึงงบประมาณที่ขาดหายไปในการพัฒนาประเทศ
2.3 พืชผลทางการเกษตรเสียหาย

การพยากรณ์แผ่นดินไหว

              ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งเรื่องตำแหน่ง ขนาด และเวลาเกิดด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดที่มีอยู่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้มีความพยายามอย่างยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของบริเวณแหล่ง กำเนิดแผ่นดินไหวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพยากรณ์แผ่นดินไหวโดยอาศัย 1). ทฤษฎีเกี่ยวกับคุณลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลกที่เปลี่ยนแปลงจากช่วงปกติจนถึงก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น แรงเครียดในเปลือกโลกเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วง การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก น้ำใต้ดินในบ่อน้ำของชาวจีนที่เกิดการเปลี่ยนแปลง 5 ประการ คือ น้ำขุ่นขึ้น มีการหมุนวนของน้ำ ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศ และน้ำมีรสชาติขม และ 2). การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์หลายชนิดที่มีการรับรู้ถึงภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตกใจ หนู งูวิ่งออกมาจากรู ปลากระโดดขึ้นจากผิวน้ำ ฯลฯ เป็นต้น
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ ในบริเวณเดียวกัน หลายสิบครั้งหรือหลาย ร้อยครั้งในระยะเวลาสั้นๆ เป็นวันหรือในสัปดาห์ อาจเป็นสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า ว่าจะเกิดแผ่นดิน ไหวที่มีขนาดใหญ่กว่าตามมาได้ หรือในบางบริเวณที่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีต สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอาจเกิด แผ่นดินไหวใหญ่ที่มีขนาดเท่าเทียมกัน หากบริเวณนั้นว่าง เว้นช่วงเวลา การเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลา ยาวนานหลายสิบปีหรือหลายร้อยปี ยิ่งมีการ สะสมพลังงานที่เปลือกโลกในระยะเวลายาวนานเท่าใด การเคลื่อน ตัวโดยฉับพลันเป็นแผ่นดิน ไหวรุนแรงก็เพิ่มมากขึ้น

การวัดขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว

              ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น " ริคเตอร์" ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับเรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก การวัดขนาดและความรุนแรงเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ทำให้ทราบว่าแผ่นดินไหวที่เกิดจะสร้างความเสียหายได้ขนาดไหน
1.มาตราริคเตอร์ เสนอโดย ชาลส์ เอฟ. ริกเตอร์ (Charles F. Richter นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) เป็นการวัดที่มีขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง มาตราริกเตอร์
• 1-2.9 ขนาดเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน
• 3-3.9 ขนาดเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน
• 4-4.9 ขนาดปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
• 5-5.9 ขนาดรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
• 6-6.9 ขนาดรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
• 7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก
2.มาตราเมอร์แคลลี่ ความรุนแรงเมอร์คัลลี กำหนดขึ้นครั้งแรกโดย กวีเซปเป เมอร์คัลลี ( Guiseppe Mercalli ชาวอิตาเลียน นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ) ใน พ.ศ. 2445
ระดับ I อ่อนมาก ผู้คนไม่รู้สึก ต้องทำการตรวจวัดด้วยเครื่องมือเฉพาะทางเท่านั้น
ระดับ II คนที่อยู่ในตึกสูง ๆ หรืออยู่นิ่งๆ เริ่มรู้สึกเพียงเล็กน้อย
ระดับ III คนในบ้านเริ่มรู้สึกเหมือนรถบรรทุกเล็กแล่นผ่าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
ระดับ IV ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกเหมือนรถบรรทุกหนักแล่นผ่าน
ระดับ V คนส่วนใหญ่รู้สึก ของเบาในบ้านเริ่มแกว่งไกว
ระดับ VI คนส่วนใหญ่รู้สึก ของหนักในบ้านเริ่มแกว่งไหว
ระดับ VII คนตกใจวิ่งออกจากอาคาร สิ่งก่อสร้างเริ่มมีรอยร้าว
ระดับ VIII อาคารธรรมดาเสียหายอย่างมาก อาคารออกแบบพิเศษเสียหายเล็กน้อย
ระดับ IX อาคารออกแบบพิเศษเสียหายอย่างชัดเจน
ระดับ X อาคารพังเสียหายมาก รางรถไฟงอเสียหาย
ระดับ XI อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด แผ่นดินถล่ม
ระดับ XII ทุกสิ่งโดนทำลายหมด มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน